Ads 468x60px

Sample Text

Web 2.0 กับการจัดการเรียนรู้

ความหมายของ Web 2.0
Web 2.0 คือการให้ความหมายของสิ่งที่เปลี่ยนไปของเทคโนโลยีเว็บไซต์ และการออกแบบเว็บไซต์ ที่มีลักษณะส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล การพัฒนาในด้านแนวความคิดและการออกแบบ รวมถึงการร่วมสร้างข้อมูลในโลกของอินเทอร์เน็ต แนวคิดเหล่านี้นำไปสู่การพัฒนาและการปฏิวัติรูปแบบเทคโนโลยีที่นำไปสู่เว็บเซอร์วิส      หลายอย่าง เช่น บล็อก เครือข่ายสังคมออนไลน์ วิกิ บล๊อก  คำว่า "เว็บ 2.0" เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้าง หลังจากงานประชุมโอไรล์ลีย์มีเดีย เว็บ 2.0 ที่จัดขึ้นในปี 2547
คำว่า Web 2.0 เป็นคำที่ใช้เรียกลักษณะของ World Wide Webในปัจจุบัน ตามลักษณะของผู้ใช้งานโปรแกรมเมอร์และ ผู้ให้บริการ ซึ่งตัวของเว็บ 2.0 ไม่ได้กล่าวถึงการพัฒนาทางด้านเทคนิคแต่อย่างใด ทิม เบอร์เนิร์สลี ผู้คิดค้นWorld Wide Web ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ลักษณะทางเทคนิคของ Web 2.0 นั้นเกิดขึ้นมานานกว่า
การกำหนดคำว่า Web 2.0 จะถูกนำมากำหนดเป็นคำเรียกชื่อ

การเปลี่ยนแปลง จาก Web 1.0 เป็น Web 2.0
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวหลายคนมองว่า Web 2.0 มีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เว็บไซต์ที่เรียกได้ว่าเป็นเว็บไซต์ในยุค Web 2.0 จะแตกต่างไปจากยุค Web 1.0 มาก โดยจะเน้นสนับสนุนให้มีการแบ่งปันความรู้ ความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันมากกว่าจะเป็นเพียงการเสนอเนื้อหาผ่านเว็บไซต์ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์ ในปัจจุบันอาจเป็นเพียงใครก็ได้ที่ต้องการเข้ามาเปิดเว็บไซต์ไว้แล้วเชิญชวนให้คนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของตนเอง รวมถึงการเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนไฟล์ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ เพลง ผ่านเครือข่ายออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง และเพื่อให้ข้าใจและเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงจากยุค Web 1.0 ไปเป็นยุค Web 2.0 ได้ชัดเจนมากขึ้น จึงขอนำข้อมูลส่วนหนึ่งที่ Tim O’Reilly ได้ยกตัวอย่างเว็บไซต์เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของเว็บไซต์ในยุค Web 1.0 ไปเป็น Web2.0 ซึ่งสามารถอธิบายได้ค่อนข้างชัดเจน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
       
สำหรับลักษณะเด่นของเว็บไซต์ที่เรียกได้ว่าเข้ายุค Web 2.0 แล้วนั้น สามารถสรุปลักษณะสำคัญได้ดังต่อไปนี้
• เป็นเว็บไซต์ที่เน้นบริการที่หลากหลายรูปแบบและตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานมากขึ้น โดยมี
การโต้ตอบระหว่างเจ้าของเว็บไซต์และผู้ใช้งาน ซึ่งผู้ใช้งานหรือสมาชิกที่เป็นบุคคลทั่วไปสามารถเข้า
มามีส่วนในการจัดการและแบ่งปันเนื้อหาดังกล่าวให้กับกลุ่มคนในสังคมออนไลน์ส่งผลให้เกิดการ
ติดต่อสื่อสารกันและมีกิจกรรมร่วมกัน
• เป็นเว็บไซต์ที่พัฒนาให้ผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว โดยผู้ใช้ไม่ต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิค
รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลไปยังเครือข่ายออนไลน์ที่ง่ายขึ้น ดังจะเห็นได้จากการใช้งานผ่าน Blog และ
เว็บไซต์ที่บริการให้ upload ภาพต่างๆ ในปัจจุบัน
• เป็นเว็บไซต์ที่เน้นหนักในด้านข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์มากกว่าแต่เดิมที่เน้นในด้านเทคนิคเป็น
ส่วนใหญ่
• เนื้อหาส่วนใหญ่จะมีการจัดเรียง จัดกลุ่มเข้าหมวดหมู่และเป็นระบบมากกว่าเดิม

Web 2.0 กับการจัดการเรียนรู้
ปัจจุบันรูปแบบการสื่อสารและการเรียนรู้ เปลี่ยนไปจากการเรียนรู้เพียงในห้องเรียนเปลี่ยนเป็นการเรียนรู้
นอกห้องเรียนเรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวเป็นสิ่งแวดล้อมไกลตัวและกลายเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต นอกจากนั้น การเรียนรู้จากการฟังการบรรยายจากผู้สอนเพียงอย่างเดียว ก็เปลี่ยนเป็นการเสนอความคิดเห็นระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ซึ่งวิวัฒนาการและเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการศึกษาทั้งนี้เนื่องจากความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียนมีเพิ่มมากขึ้นและแตกต่างกัน รวมถึงการเตรียมตัวเพื่อแสวงหาข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ต่ออาชีพและ ความสนใจส่วนบุคคล ซึ่งปัจจุบันมีนักโปรแกรมเมอร์ที่มีความสามารถเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้วิวัฒนาการด้านการพัฒนาเครื่องมือการสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว
          นักการศึกษาได้นำเทคโนโลยี Web 2.0 ได้เข้ามาใช้เพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษาทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการทั้งนี้เพื่อใช้เทคโนโลยีมาสร้างสื่อที่ทันสมัยสำหรับการเรียนรู้ เพื่อรองรับการวิวัฒนาการสื่อต่างๆในรูปแบบ โดย Steve Hargadon ได้กล่าวถึงแนวโน้มที่น่าสนใจของโอกาสที่น่าจะนำ Web 2.0 เข้ามาสร้างสื่อการเรียนรู้ในไว้อนาคตดังนี้
1. สร้างโอกาสให้เกิดการปฏิวัติสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบใหม่
จากอดีตที่ผ่านมาระบบการสื่อสารในอินเตอร์เน็ตทางเว็บไซด์ เป็นการสื่อสารทางเดียว ที่ป็นเพียงผู้อ่าน
และรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ตามหน้าเว็บเท่านั้น แต่ในยุคของ Web 2.0 นี้ การสื่อสารทางเว็บได้เปลี่ยนไปเป็นการสื่อสารสองทาง การสร้างเนื้อหาบนเว็บนั้นเกิดจากการได้รับการสนันสนุนและช่วยเหลือกันของผู้ใช้เพื่อทำให้ข้อมูลที่มีอยู่บนเว็บนั้นมีความชัดเจนและถูกต้องมากที่สุด เว็บไซด์ต่างๆ เปิดโอกาสให้คนทั่วไปสามารถที่จะสร้างเนื้อหาบนหน้าเว็บได้อย่างง่ายดาย
2. เปิดโอกาสให้มีข้อมูลข่าวสารหรือเนื้อหาต่างเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลและรวดเร็ว
การปฎิวัติรูปแบบของการสร้างเนื้อหาบนหน้าเว็บโดยให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมและเข้าถึงมากขึ้นนี้ ส่งผลให้
ปริมาณเนื้อหาหรือข้อมูลบนหน้าเว็บเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้ใช้ได้เข้าไปสร้างเนื้อหาบนหน้าเว็บทุกวัน จะเห็นได้จากจำนวนของเว็บบล็อกที่เพิ่มมากขึ้นกว่า 100,000 บล็อกในแต่ละวัน ซึ่งหมายถึงผู้ใช้หรือผู้ค้นหาข้อมูลจากเว็บไซด์มีแหล่งข้อมูลเพิ่มมากขึ้นแต่ในขณะเดียวกันความหลากหลากหลายทำให้ผู้ค้นหาต้องใช้เวลาค่อนข้างมากในการพิจารณาและกลั่นกรองข้อมูลที่จะนำไปใช้ให้รอบคอบ
3. เกิดการมีส่วมร่วมโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการค้า
Steve Hargadon ได้ ยกตัวอย่างของการซื้อ-ขายสินค้าจากเว็บ http://www.amazon.com ซึ่ง
เป็นเว็บที่ขายหนังสือผ่านทางระบบออนไลน์ โดยในเว็บจะนำเสนอหนังสือแต่ละเล่มและเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปที่อ่านหนังสือเล่มนั้นๆ สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงข้อคิดเห็นและบทวิจารณ์หนังสือ อีกทั้งยังสามารถจัดลำดับความน่าสนใจของเนื้อหาหนังสือหรือความน่าสนใจเพื่อซื้อไว้เป็นเจ้าของได้ด้วย และผู้สนใจอื่นๆที่เข้ามาเลือกดูเว็บหนังสือเล่มนี้ก็จะสามารถอ่านข้อคิดเห็นและบทวิจารณ์ของหนังสือเล่มนั้นได้
4. การผลิตสินค้ามาตอบสนองตรงต่อความคิดเห็นและความต้องการของผู้บริโภค
ในปัจจุบัน บริษัทจำนวนมากที่ผลิตสินค้าตามความคิดเห็นของลูกค้าโดย มีการจัดทำการสำรวจความ
ความคิดเห็นของลูกค้าด้านคุณสมบัติและคุณภาพสินค้าเพื่อนำไปปรับปรุงการผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น
5. ยุคแห่งความร่วมมือหรือปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบนเว็บไซต์
อาจกล่าวได้ว่า เราไม่สามารถที่จะอยู่บนโลกนี้ได้โดยลำพังในยุคปัจจุบัน จึงต้องมีการเรียนรู้ การ
แลกเปลี่ยนข้อมูลของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นลักษณะที่ต้องช่วยเหลือและให้ความร่วมมือกัน เนื่องจากกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้ง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม อีกทั้งการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดนทำให้การร่วมมือกันของคนทุกมุมโลกเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ปรับตัวเข้ากับทุกสรรพสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป
6. การเกิดนวัตกรรมใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น
การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วก่อให้เกิดการประสานกันระหว่างความรู้เฉพาะที่นำเสนอมาจากแหล่งข้อมูล
หลากหลายทั่วโลกกับการให้ความร่วมมือประสานงานกันของแต่ละแหล่งข้อมูล ซึ่งนำไปสู่การผลิตคิดค้นนวัตกรรมขึ้นเป็นจำนวนมาก
7. เกิดความเท่าเทียมกันทางการศึกษา
ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกัน โอกาสทางการศึกษาที่เปิดให้ทุกคนเรียนรู้ด้วยเนื้อหาเดียวกันทั่วโลกแม้จะอยู่ต่างที่ต่างเวลา ซึ่งทำให้ช่องว่างหรือความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาลดลง
8. การเรียนรู้จากสิ่งที่มีอยู่จริงในสังคม
การเรียนรู้ในปัจจุบันควรเปลี่ยนไปในแง่ของการเรียนรู้ด้วยการแสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนมุมมองและมองว่าทุกความคิดเห็นมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ทั้งสิ้น กระบวนการเรียนรู้ควรจะเปลี่ยนจาก “การเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องอะไร” เป็น “การเรียนรู้เพื่อให้เป็นอย่างไร” ซึ่งเท่ากับว่ากระบวนการคิดที่ผ่านจากสมองของทุกคนจะถูกนำมาแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดซึ่งกันและกันอย่างรวดเร็วและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้รวดเร็วขึ้น
9. โอกาสและความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ง่ายขึ้น
วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างรวดเร็วทำให้การเข้าถึงข้อมูลเป็นไปอย่างง่ายดาย เพียงแต่ผู้ใช้เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตก็สามารถค้นหาข้อมูลที่สนใจทั้งเนื้อหาทั่วไปและเนื้อหาเชิงลึกและเมื่อเกิดการเรียนรู้มากขึ้นจะกลายเป็นความสามารถเฉพาะด้าน ก็สามารถแสดงความเห็นและแบ่งปันความรู้ที่ได้รับคืนกลับสู่ผู้อื่นด้วยระบบนี้ได้เช่นกัน
10. เครือข่ายสังคมทางอินเทอร์เน็ต
จากการที่เว็บไซด์ต่างๆ เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างเนื้อหาบนหน้าเว็บเช่น เว็บ Blogs และ Wikis ทำให้เกิดการนำเสนอข้อมูลกันอย่างเสรี โดยได้มาจากประสบการณ์และความรู้เฉพาะบุคคล ซึ่งบางครั้งข้อมูลที่นำเสนอนั้นอาจมีข้อบกพร่อง ผู้ใช้อื่นๆสามารถแก้ไขข้อมูลส่วนที่ผิดพลาดได้ ดังนั้นการติดต่อในลักษณะนี้ อาจเรียกได้ว่าเป็น การปฏิสัมพันธ์กันผ่านทางระบบเครือข่าย และเป็นการเรียนรู้ทางสังคมผ่านอินเทอร์เน็ต เมื่อเข้าสู่ยุคเทคโนโลยี Web 2.0 ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมและวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักการศึกษา ที่ต้องให้ความสนใจในการนำเทคโนโลยี Web 2.0 มาใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาการศึกษาและเตรียมพร้อมสำหรับผู้เรียนให้รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงการแสวงหาข้อมูลในโลกยุคปัจจุบันและด้วยการพัฒนาที่ต่อเนื่องและรวดเร็ว




แหล่งอ้างอิง
http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/bm521/kurokung_2/kurokung-web2/00/00_1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น